........
........
................

อ่านอย่างไรให้อยู่รอดในโลกที่แปรปรวน -
'Reading The Future: อ่านอนาคต' ในศตวรรษใหม่ กับ adB

 
........
........ในฐานะคนทำสื่อ เมื่อเอ่ยถึงกระแสดิสรัปชัน อย่างแรกที่เรานึกถึงเลยก็คือเทรนด์ถดถอยของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่กำลังถูกแทนที่ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่อยู่คู่สังคมไทยมาเนิ่นนานถูกกลืนหายไป ขณะที่อีกหลายหัวก็กำลังหาหนทางในการปรับตัวเพื่อให้ได้ไปต่อในโลกยุคโซเชียลมีเดีย ที่ถูกอาจต้องบอกว่า นี่ไม่ใช่ยุคปราบเซียนคนทำงานสื่อเท่านั้น หากแต่ยังเป็นยุคที่ชีวิตเราทุกคนกำลังถูกท้าทายด้วยความแปรปรวนรอบด้าน ตั้งแต่การเมืองที่ไร้เสถียรภาพ วิกฤตเศรษฐกิจ โลกที่กำลังโรยราลงทุกวัน ความป่วยทางกายและใจ และล่าสุดคือวิกฤตจากการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง COVID-19
........วันที่ 3 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา a day BULLETIN ได้จัดงาน 'Reading The Future: อ่านอนาคต' ขึ้นท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตไวรัส COVID-19 ที่สังคมกำลังวิตกกังวล แต่ adB ยังยืนยันจะจัดงานต่อไป ดังนั้น ในวันงานจึงมีจุดตรวจวัดไข้จากเจ้าหน้าที่พยาบาลจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการติดไวรัส COVID-19 รวมถึงมีเจลล้างมือและหน้ากากอนามัยแจกให้กับผู้มาร่วมงาน เพื่อชวนผู้อ่านทุกคนที่ต่างกำลังใช้ชีวิตท่ามกลางความแปรปรวนของสังคมไทยและโลก มาร่วมกันคิด ร่วมกันสนทนา เพื่อหาคำตอบต่อการใช้ชีวิตในทศวรรษใหม่ที่คาดเดาได้ยากยิ่ง
........ในช่วงแรกของงานคือการล้อมวงสนทนากันของ 3 บรรณาธิการบริหารแห่ง a day BULLETIN วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม (2551-2560), วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ (2560-2562) และ โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการบริหารคนล่าสุด ชวนสนทนาโดย สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ หรือ 'นิ้วกลม' เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน พร้อมร่วมกันอ่านอดีตที่สะท้อนให้เห็นถึงความพลิกผันของวงการสื่อสิ่งพิมพ์ว่าคนทำงานทั้งสามยุคสามสมัยมีการปรับตัวเองอย่างไร "เราจริงจังกับการเลือกคนมาขึ้นปก ต้องถ่ายรูปสวย อาร์ตไดเรกชันต้องดี งานต้องเนี้ยบ โจทย์คือทำอย่างไรให้คนอ่านรู้สึกว่ามันน่าเก็บ และด้วยความที่ adB เป็นรายสัปดาห์ จึงให้ความรู้สึกก้ำกึ่งระหว่างเร็วกับช้า ดังนั้น การเกาะกระแสจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่เกาะกระแสก็ไม่มีเหตุผลที่คนจะต้องอ่านมันในทุกวันศุกร์"
........วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร adB ในช่วงปี 2551-2560 ได้ย้อนกลับไปเล่าถึงยุคที่เริ่มก่อตั้งนิตยสาร และโจทย์ที่ท้าทายคนทำฟรีก๊อบปี้ในช่วงเวลาดังกล่าว "เรายืนหยัดเพื่อสิ่งนี้ เรารู้จักเคี่ยวเข็ญตัวเองและให้คำมั่นสัญญากับตัวเองที่จะทำคอนเทนต์สลักสำคัญ และมีคุณค่ามากพอ รวมทั้งมีสปิริตต่อการดำรงอยู่ของเรา"
 
........วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบริหาร adB ในช่วงปี 2560-2562 ตอบ เมื่อถูกถามว่าสื่อจะมีบทบาทในการสร้างคอนเทนต์ที่ดีอยู่ได้อย่างไร ท่ามกลางโจทย์ปัจจุบันที่มีประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะการผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ต้องเรียกยอดเอนเกจเมนต์เป็นสำคัญ "เวลาเราดูคอนเทนต์ออนไลน์เราก็เห็นแบบหนึ่ง ดูแมกกาซีนก็เห็นอีกแบบหนึ่ง แต่เราจะจำกัดตัวเองไหมล่ะว่าจะดูแต่ออนไลน์แล้วไม่ดูสิ่งพิมพ์ ก็ไม่ เราเปิดรับทุกอย่างดีกว่า สนุกดี อีกอย่าง ความน่าสนใจของการทำสื่อสิ่งพิมพ์คือการคาดเดาว่าในอีกสองอาทิตย์ข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้น และสื่อสิ่งพิมพ์ยังทำให้มองเห็นภาพรวมและรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเห็นได้จากออนไลน์"
 
........มุมมองของ โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการบริหาร adB คนปัจจุบัน ที่สะท้อนให้เห็นความแตกต่างของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ซึ่งคำตอบนี้เป็นเหมือนตัวกำหนดทิศทางของ adB ในอนาคตว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
........
หลังจากอ่านอดีตที่ผ่านไปแล้ว ในช่วงที่สองเป็นการล้อมวงสนทนาเพื่อร่วมกันอ่านอนาคตผ่านมุมมองของตัวแทนคอลัมนิสต์ใหม่ของ adB ทั้ง 6 คน ได้แก่ ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ แห่งคอลัมน์ 'Econocity', เจษฎา สุขทิศ แห่งคอลัมน์ 'Alpha Pro', คำ ผกา แห่งคอลัมน์ 'อยู่เป็น', อุรุดา โควินท์ แห่งคอลัมน์ 'Love Actually', ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน แห่งคอลัมน์ 'Scientifica' และ กมลนาถ องค์วรรณดี แห่งคอลัมน์ 'Fashion Matters' เมื่อถาม คำ ผกา เจ้าของคอลัมน์ 'อยู่เป็น' ว่าเธอคิดเห็นอย่างไรกับทศวรรษนี้ คาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีอะไรที่ดีขึ้นหรือแย่ลง เธอให้คำตอบว่า "จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต มันจะดีหรือไม่ดีตอบง่ายมาก คือไม่ว่าเราจะเตรียมพร้อมต่ออนาคตอย่างไร เราจะพยายามสกัดกั้นสิ่งเลวร้ายไม่ให้เกิดขึ้นมากมายแค่ไหน แต่ถ้ามันจะเกิด มันก็เกิดขึ้นอยู่ดี 'ความหวัง' คือสิ่งที่ อุรุดา โควินท์ แห่งคอลัมน์ 'Love Actually' คิดว่าจำเป็นต่อการมีชีวิตในโลกอนาคตที่ทุกสิ่งกระจัดกระจายและยากจะคาดเดา "ความหวังทำให้เรามีแรง ไม่ใช่ว่าโลกจะดีหรืออนาคตจะดีขึ้นนะ แต่อย่างน้อยเราจะมีความสุขได้ถ้าเรายังสามารถทำให้ตัวเองมีความหวังได้อยู่"
........เมื่อถูกถามว่าอะไรคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในในอนาคต ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน แห่งคอลัมน์ 'Scientifica' บอกว่า "สิ่งที่เราคิดว่าน่ากลัวที่สุดคือ เวลาที่จะผ่านไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง การปฏิวัติ หรือการพังทลายของสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่น่ากลัวที่สุด" ส่วน กมลนาถ องค์วรรณดี แห่งคอลัมน์ 'Fashion Matters' บอกว่า "สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือความกลัวของเรา เพราะสังคมเราตอนนี้มีเครื่องมือ มีความเป็นไปได้ มีทางเลือก มีสื่อเยอะมากให้เลือกเสพข้อมูลข่าวสาร อยู่ที่ว่าคนเราจะมีสติในการสร้างความสามารถที่จะเลือกชีวิตของตัวเอง โดยไม่ถูกกระแสใดๆ ลากไป หรือถูกล้างสมองได้ง่ายๆ ซึ่งมันต้องใช้สติเยอะมาก"
........
........เจษฎา สุขทิศ แห่งคอลัมน์ 'Alpha Pro' กล่าวถึงเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า "โลกวิวัฒนาการ มนุษย์ก็วิวัฒนาการ ถ้ามนุษย์เราหยุดวิวัฒนาการ เราก็จะสูญพันธ์ุ สิ่งที่เราต้องฝึกคืออยู่กับความจริง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่จิตคุณส่งออกไปข้างนอก จะมีความทุกข์มาเยือนเสมอ เพราะเศรษฐกิจในอนาคตมันช่างท้าทายเหลือเกิน" ในขณะที่ ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ แห่งคอลัมน์ 'Econocity' มองว่าเรื่องน่าห่วงและน่ากังวลที่สุดปัจจุบันและอนาคต คือเรื่องของความเหลื่อมล้ำและปัญหาสาธารณะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ "เรามีสมาร์ตโฟนให้เล่น มี Netflix ให้ดู ถ้าเราเป็นคนในอดีตมองมาก็คงเป็นยุคที่ไม่เลวเหมือนกัน
........
แต่มุมมองที่ผมกังวลคือเราจะสามารถใช้เทคโนโลยีที่เรามีขนาดนี้มาแก้เรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณะได้มากขนาดไหน" a day BULLETIN ได้ยืนหยัดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มานานถึง 12 ปี และได้ปรับเปลี่ยนการนำเสนอให้สอดรับกับยุคสมัยมาโดยตลอด ซึ่งในปีนี้ a day BULLETIN กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อ โตมร ศุขปรีชา ได้ก้าวเข้ามาเป็นบรรณาธิการคนใหม่ จนเกิดคำถามว่านิตยสารฟรีก๊อบปี้หัวนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน แนวทางการอ่านจะยังคงเดิมหรือใหม่ หรืออาจจะมีความแปลกใหม่ให้เราได้เรียนรู้
........
มาร่วมอ่านอนาคตไปด้วยกันที่ www.adaybulletin.com
หรือสมัครสมาชิกได้ที่ https://godaypoets.com
........
........
 


หมายเหตุ. สงวนลิขสิทธ์ภาพและเนื้อหา นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
Use of this site signifies your acceptance of the Privacy Policy and Terms of Use.
Copyright © 2005 Variety News Edition Corp. All rights reserved.