........
........
................

ปลุกพลัง พอแล้วดี แบบ "คนเจนวาย"

 
........
........พอแล้วดี - "พอพูดว่าพอเพียง บางคนก็นึกภาพเลยว่าต้องกลับไปทำการเกษตร ไปซื้อเสื้อม่อฮ้อมมาใส่ แต่จริงๆ ความพอเพียงคือการรู้จักตัวเอง ประมาณตัวเองว่าท้องเรากินได้แค่ไหน แล้วกินให้พอดี เรายังใช้ไลฟ์สไตล์แบบเดิมได้ แต่หากเป็นคนที่มีไม่พอก็อย่าเป็นนักขอ ต้องลงมือทำ ขณะที่หากเป็นคนที่มีเกินพอก็ต้องรู้จักที่จะแบ่งปัน" ดร.ศิริกุล เลากัยกุล อดีตที่ปรึกษาการสร้างแบรนด์ในบริษัทระดับโลก กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพอแล้วดี The Creator รุ่น 4 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
........ดร.ศิริกุล เล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการว่า เกิดจากความเชื่อมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เป็นเพียงวาทกรรม ประกอบกับการเปลี่ยนงานจาก "งานประจำ" มีเงินเดือน มาสร้างธุรกิจของตัวเองต้องใช้ "พลังใจ" และ "ความกล้า" อย่างมาก จึงมีโอกาสได้ศึกษาหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความหวังจะทำธุรกิจเล็กๆ เพื่อให้อยู่ได้ แต่เมื่อศึกษาอย่างจริงจังกลับพบว่า "สิ่งเล็กๆ ก็ยิ่งใหญ่ได้" จึงเป็นที่มาของโครงการ "พอแล้วดี The Creator" ที่จัดเวิร์กช็อปส่งเสริมนักธุรกิจรุ่นใหม่ให้เป็นบุคคลต้นแบบผู้มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับแนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเป็นพลังการขับเคลื่อนธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคัดเลือกผู้ประกอบการจากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ เพื่อสะท้อนพลังของคนรุ่นใหม่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะคน "เจนวาย" ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2523-2543 ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีไอที จำนวนทั้งหมด 18 งานธุรกิจ ทั่วประเทศมาร่วมโครงการ
........
........
........ทั้งนี้ "พอแล้วดี The Creator" จะทำหน้าหน้าที่เป็นต้นแบบและสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ศาสตร์พระราชาในการดำเนินธุรกิจและนำเสนอความเป็นอัตลักษณ์ความเป็นไทยและการสร้างคุณค่าให้กับท้องถิ่นของตน วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ เจ้าของสตูดิโอ "WISHULADA" วัย 26 ปี ที่สร้างผลงานศิลปะจัดวาง (Installation Art) จากวัสดุเหลือใช้ สรรค์สร้างผลงานให้กับแบรนด์แฟชั่น และห้างสรรพสินค้าชื่อดัง กล่าวว่า มีหลายคนมาบอกกับเธอว่าการเป็นศิลปินนั้นไส้แห้ง จนเธอคิดจะละมือจากการทำงานศิลปะมาหลายครั้ง จนกระทั่งได้พบกับคำสอนของในหลวง ร.9 ที่ว่าด้วยเรื่องความเพียรพยายาม อดทนและมุ่งมั่น แม้จะต้องเจอกับอุปสรรค "ความตั้งใจของเราคืออยากให้งานศิลปะในการสร้างสรรค์ตนเอง สร้างสิ่งดีงามให้สังคม เช่นงานที่เราทำ ทำมาจากวัสดุเหลือใช้ ในเชิงธุรกิจยังเป็นการลดต้นทุนตลอดจนยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จึงน้อมนำเอาคำสอนของในหลวง ร.9 ที่ว่า การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตามไม่ใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ความเพียร อดทน และเสียสละ แต่ที่สำคัญสุดคือไม่ย่อท้อ มาเป็นคติประจำใจ โดยเธอก็เลือกผู้ช่วยงานเป็นกลุ่มแรงงานคนไทยที่ไม่มีพื้นฐานในด้านงานศิลปะเลย ด้วยแนวคิดที่ว่าอยากจะเผยแพร่งานศิลปะให้งอกงามเป็นสิ่งที่ดีงามของสังคมไทย" วิชชุลดากล่าวด้วยรอยยิ้ม
........
........ด้าน ณัฐดนัย ตระการศุภกร หนุ่มปกากะญอวัย 28 ปี ที่ผันตัวจากงานด้านกฎหมายกลับไปทำธุรกิจน้ำผึ้งป่าชุมชน "HOSTBEEHIVE" ที่ชุมชนบ้านหินลาดใน จ.เชียงราย ด้วยความมุ่งมั่นอยากเล่าเรื่องราวการดูแลจัดการป่าของชุมชนปกากะญอผ่านของดีในท้องถิ่น นั่นคือ "น้ำผึ้งป่า" ทั้งยังสร้างเครือข่ายของกลุ่มปกากะญอรุ่นใหม่ในชุมชน ไม่ต้องออกไปหางานทำไกลบ้าน และมีอาชีพรองรับเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักความคิดที่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทพื้นที่ คน และชุมชนได้อย่างหลากหลายไม่ตายตัว ผมมีในหลวง ร.9 เป็นต้นแบบในการทำงานมาโดยตลอด โดยเฉพาะหลักการทำงานให้กับชุมชนที่ต้องเป็นรูปธรรมและระเบิดจากข้างใน ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ถึงจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน แล้วทำไมชุมชนปกากะญอ ที่ชื่อมีความหมายว่า คนที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทั้งยังมีคำสอนในหมู่บ้านว่า อยู่กับน้ำรักษาน้ำ อยู่กับป่ารักษาป่า จะทำไม่ได้ จึงเป็นแนวคิดที่ว่าชุมชนมีของดีต้องนำมาพัฒนาต่อยอด จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งป่า ประกอบกับพลังของคนรุ่นผมที่เป็นคนรุ่นใหม่ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมของหมู่บ้านแบบดั้งเดิมผสมผสานกับวิถีของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจเรื่องการใช้โซเชียลมีเดีย และออนไลน์มาช่วยในการดำเนินธุรกิจด้วย" หนุ่มปกากะญอกล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจัง
........
........
........ปิดท้ายด้วย คุณ อัจจิมา ศรีปรัชญาอนันต์ สาวสวยวัย 31 ปี เจ้าของร้านอาหารสุขภาพบรรยากาศอบอุ่น "Little Sunshine Cafe" ที่เล่าถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับอาหาร ว่า การกินอย่าง "พอเพียง" ไม่ได้แปลว่ากินน้อย แต่คือการกินให้เหมาะสมและสมดุล กินให้มีประโยชน์ ขณะเดียวกันในการทำธุรกิจอาหารเธอใช้หลักของความพอเพียงมาใช้คือ รู้จักและประมาณตนได้ว่าเราคือใคร มีความสามารถอะไร และแบ่งปันอะไรได้ และ "เริ่มทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป"\ "มีคนมาชวนให้ขยายสาขาเยอะมาก แต่เราไม่ทำเพราะประมาณตนว่าเราพึงพอใจกับจุดนี้แล้ว ได้เห็นลูกค้ากินอาหารที่ช่วยให้สุขภาพดี แม้จะไม่ขยายสาขา แต่ขยายคุณค่าในด้านอื่นได้ เช่น จัดเวิร์กช็อปสอนจัดข้าวกล่องแล้ววาดรูปสีน้ำเก็บไว้ เป็นการแบ่งปันสิ่งดีๆ สู่สังคม ในฐานะผู้ประกอบการนี่คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจและจิตใจเราด้วย ไม่ให้เผลอเพลินใจไปกับความสุขสนุก สอดคล้องกับคำสอนของในหลวง ร.9 ที่น้อมนำมาใช้อยู่ตลอดคือการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท" อัจจิมากล่าวด้วยรอยยิ้ม พอแล้วดี
........
........
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันะ์ โครงการ พอแล้วดี the creator
คุณ ภิรมย์ จันทร์สุระคนธ์ อ้อย โทร . 09 4 452 5656
e mail : pr68.communications@gmail.com
........
........
 


หมายเหตุ. สงวนลิขสิทธ์ภาพและเนื้อหา นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
Use of this site signifies your acceptance of the Privacy Policy and Terms of Use.
Copyright © 2005 Variety News Edition Corp. All rights reserved.