........
........
........ ........

หัวเว่ยจัดสัมมนาระบบนิเวศบริการสำหรับกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2018

 
ชูแนวคิด Leading Service Ecosystem, Accelerate Digital Transformation
งานประชุมด้านระบบนิเวศบริการครั้งแรกของหัวเว่ย เปิดตัวกลยุทธ์ Platform + Ecosystem
เจาะกลุ่มองค์กร ชี้ความสำคัญของโครงการ HCIE
........กรุงเทพฯ/ 17 กรกฎาคม 2561 - วันนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประชุม"Huawei Southern East Asia Enterprise Service Ecosystem Summit" ภายใต้แนวคิด "Leading Service Ecosystem, Accelerate Digital Transformation" มุ่งสร้างระบบนิเวศด้านบริการ เตรียมขับเคลื่อนสู่ยุคดิจิทัล ที่โรงแรมเดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ โดยมีพันธมิตรหลักในแวดวงทั้งจากไทย ฮ่องกงและอินเดียเข้าร่วมงานกว่า 40 ราย
........สำหรับงานสัมมนาในครั้งนี้จัดโดยกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอรไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของหัวเว่ย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ Huawei Certified Internetwork Expert (HCIE) ซึ่งเป็นการรับรองคุณวุฒิด้านอาชีพของหัวเว่ย และส่งเสริมให้วิศวกรจากองค์กรคู่ค้าและลูกค้าของหัวเว่ยได้เข้าร่วมโครงการกันมากยิ่งขึ้น โดยภายในงาน มีผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในวงการมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงไอซีทีอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งในส่วนของระบบและรูปแบบธุรกิจ
........นอกจากนี้หัวเว่ยยังได้เผยกลยุทธ์ความร่วมมือด้านบริการและแพลตฟอร์มสนับสนุนระดับโลกให้บริษัทคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับทราบ ตลอดจนแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับคู่ค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ในปัจจุบัน หัวเว่ยได้สนับสนุนคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 1,000 ราย โดยในจำนวนนี้มี 400 รายอยู่ในประเทศไทย
........"เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และอนาคตก็กำลังพัฒนาไปสู่สังคมดิจิทัลที่มีความเป็นอัจฉริยะในหลายภาคส่วน" มร. วิลเลียม หวัง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด กล่าว "การใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) ที่เพิ่มมากขึ้น จะพลิกโฉมระบบไอซีทีและรูปแบบธุรกิจในองค์กรต่างๆ หัวเว่ยจึงได้กำหนดบทบาทของตัวเองให้เป็นเสมือนผู้ผลักดันกลไกขับเคลื่อนและเป็นพันธมิตรหลักในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางธุรกิจให้กับลูกค้า และด้วยเหตุนี้ การปรับเปลี่ยนทางด้านไอซีทีขององค์กรจึงเป็นเรื่องจำเป็น" มร. หวัง กล่าวเสริม
........นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้วางกลยุทธ์เชิงซ้อน ที่เรียกว่า "Platform + Ecosystem" ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลและนำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ โดยหัวเว่ยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรตามกลยุทธ์นี้ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และมีความปลอดภัย หัวเว่ยมีเจตจำนงค์อันแน่วแน่ที่ต้องการบ่มเพาะและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ด้วยการผนึกความร่วมมือในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างชุมชนโอเพ่นซอร์สและแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนา โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตออกไปในวงกว้างและสร้างชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน เพื่อเติบโตไปด้วยกันและต่อยอดสู่สิ่งใหม่ๆ
........เพื่อบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เน้นให้ความสำคัญกับห้าอุตสาหกรรมหลัก นั่นคือ ความปลอดภัยสาธารณะ การขนส่ง พลังงาน การเงิน และภาคการผลิต รวมถึงดำเนินงานใน 3 จุดควบคุมหลัก คือ เทคโนโลยีขั้นสูง แพลตฟอร์มและเครือข่ายระบบนิเวศชั้นนำ เพื่อฝึกฝนผู้มีความสามารถในแวดวงและเพิ่มพูนศักยภาพการให้บริการแก่ลูกค้ารายหลัก
........
........
ระบบนิเวศด้านบริการของหัวเว่ย ประกอบด้วยสี่ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้
........o Huawei Certified Service Partners (CSPs) จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2560 หัวเว่ยมีพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติกว่า 2,900 รายทั่วโลก ในจำนวนนี้กว่า 160 รายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในขณะนี้มีพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติ (Certified Service Partners) ระดับ 4 ดาว และ 5 ดาว กว่า 70 ราย
........o Huawei Service Platform ในปี 2560 สมาคมผู้สนับสนุนการบริการทางเทคโนโลยี (Technology Services Industry Association) ได้เปิดตัวโครงการรับรองคุณสมบัติความเป็นเลิศสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน (Support Staff Excellence Certification) ซึ่งโครงการนี้มีศูนย์บริการระดับโลก (Global Services Centers: GSCs) ที่ได้รับการรับรองแล้วทั้งสิ้น 3 แห่ง และศูนย์ช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance Centers: TAC) 12 แห่ง ซึ่งสมาคมวิชาชีพด้านบริการสนับสนุน (Association of Support Professional) ได้จัดอันดับให้พอร์ทัลการสนับสนุนทางเทคนิคของหัวเว่ยติดอันดับ 1 ใน 10 ของเว็บไซต์ด้านการสนับสนุนทางเทคนิคระดับโลก นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วม 36 แห่ง และ OpenLab อีก 9 แห่งทั่วโลก เพื่อพัฒนาโซลูชั่นและบริการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรของหัวเว่ย
........o Huawei Authorized Learning Partners (HALP) เป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติและวิศวกรในองค์กรคู่ค้าของหัวเว่ย ปัจจุบัน หัวเว่ยมีพันธมิตรที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมกว่า 100 รายและมีผู้ดำเนินการฝึกอบรมกว่า 200 รายทั่วโลก สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพันธมิตรที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้ทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับวิศวกรในองค์กรคู่ค้าของหัวเว่ยไปแล้วกว่า 1,800 ราย
........o Huawei ICT Academy จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2560 หัวเว่ยได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอซีทีกว่า 300 แห่งทั่วโลก และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวเว่ยได้พัฒนาโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยได้เปิดตัวโครงการ Huawei Authorized Information and Network Academy" (HAINA) ขึ้นมา และมีจำนวนนิสิตนักศึกษากว่า 100 คนที่ผ่านการอบรมและ ผ่านการรับรองจากโครงการดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทยได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่ผ่านมา
........หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถให้มากยิ่งขึ้น และขยายขอบเขตเครือข่ายผู้มีความสามารถด้านไอซีทีให้กว้างไกลออกไปเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่กำลังจะมาถึง พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมและรับรองคุณสมบัติด้านเทคโนโลยี AI, บิ๊กดาต้า, คลาวด์คอมพิวติ้ง และ IoT ตลอดจนรับรองคุณสมบัติด้านเมืองปลอดภัย การเงิน และอุตสาหกรรมไอซีที เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับวิศวกรด้านเทคนิคในระบบเดิมให้พร้อมก้าวไปเป็นผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงของอุตสาหกรรม
........ทั้งนี้ Huawei ICT Academy และ Huawei Authorized Learning Partners (HALP) ได้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติจากหัวเว่ยไปแล้วกว่า 70,000 ราย และมีวิศวกรด้านไอซีทีกว่า 5,000 ราย ผ่านการรับรองในโครงการ Huawei Certified Internetwork Experts (HCIE) โดยในจำนวนนี้มี 120 รายที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยหัวเว่ยตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี2564 จะมีผู้ผ่านการอบรมในโครงการ HCIE กว่า 500 รายในภูมิภาคนี้
เกี่ยวกับหัวเว่ย
........หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้
........ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
........
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com
ติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei
http://www.twitter.com/Huawei
http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei
........
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
คุณวันดี เลิศสุพงศ์กิจ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารหัวเว่ย
โทร. 093 896 6465 หรือ 081 838 4001
อีเมล: wandeel@francomasia.com หรือ pr@francomasia.com
........
........
 


หมายเหตุ. สงวนลิขสิทธ์ภาพและเนื้อหา นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
Use of this site signifies your acceptance of the Privacy Policy and Terms of Use.
Copyright © 2005 Variety News Edition Corp. All rights reserved.