|
|
|
|
........ | |
........
|
|
........ | ........ |
วช จับมือ สสท. ผลักดันการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวจากภาครัฐ สู่ภาคเอกชน |
|
.......15
มิถุนายน 2558 ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย แถลงข่าว "การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ
สู่การปฎิบัติภาคเอกชน" ภายใต้โครงการจัดทำแนวทางการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวในภาคเอกชน
ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ......." เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่ภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ......." เพื่อผลักดันให้เกิดการผลิตและบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ......." เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านยุทธศาสตร์การวิจัยการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของประเทศ .......โดยมี นางยศวดี อึ้งวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญระบบวิจัย (ด้านวิทยาศาสตร์) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และนายปิติพันธ์ เทพปฏิมากรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ทรัพยากรบุคคลและศักยภาพองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติร่วมเสวนา การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ สู่การปฏิบัติภาคเอกชน ........นางยศวดี อึ้งวิเชียร กล่าวว่า "สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกือบทุกประเภท ล้วนมาจากการวิจัยและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้ร่วมกับ เครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ หรือ คอบช. ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนงานวิจัยของประเทศ เราช่วยนักวิจัยในการคิดค้นนวัตกรรมและผู้ประกอบการในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมในช่วงเวลานั้นๆ มาโดยตลอด ยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ขายดีในปัจจุบัน ก็ยิ่งต้องการงานวิจัยเพื่อผลิตสินค้าที่ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อไม่ให้แพ้บริษัทคู่แข่ง นอกจากการส่งเสริมด้านการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว วช.เองได้เห็นความสำคัญในการผลักดันให้ตลาดสินค้ากลุ่มนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยในการผลักดันการจัดซื้อ จัดจ้างภาคเอกชน เพี่อขยายฐานของผู้ผลิตให้เติบโตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
|
........นางยศวดี
กล่าวต่อว่า "เราใช้งานวิจัยและพัฒนานำการผลิต ทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุนของภาคเอกชน
และสอดคล้องกับทิศทางความต้องการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นผลดีต่อสุขภาพ
ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและบำบัด/กำจัดมลพิษและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
ซึ่งเป็นงบประมาณแฝงที่พวกเรามิได้พูดถึงกัน"
........ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ กล่าวว่า "การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว" เป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและบริการโดยพิจารณาตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลกมากขึ้น โดยประเทศต่างๆทั่วโลกต่างออกนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่เป็นข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกหรือซื้อขายภายในและระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น" ........ดร.ขวัญฤดี กล่าวต่อว่า "ภาคเอกชนซึ่งเป็นอีกภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากภาคเอกชนมีบทบาทและมีความสำคัญในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตและการให้บริการ ซึ่งในแต่ละปีใช้เงินจำนวนมหาศาลในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดซื้อโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็จะก่อให้เกิดการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ........นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดรายจ่ายด้านการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรในการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีส่วนผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" ........นายปิติพันธ์ เทพปฏิมากรณ์ กล่าวว่า "เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น................ |
|
........
|
|
........ | |
........ในฐานะองค์กรภาคเอกชน
ปตท.ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจและวิตกกังวล เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งในสังคม
เมื่อเราพิจารณากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในภาคธุรกิจของเรา พบว่า หากเรามีการจัดซื้อจัดจ้างทั้งภาคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จะทำให้ตลาดที่เป็นรูปแบบ Green Market เติบโตดีขึ้น และหากองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ช่วยกันส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เป็น
BAU จะเป็นการขับเคลื่อนภาคผู้บริโภคและประชาชนให้ตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้น
ทำให้ธุรกิจอื่นๆ ทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก สามารถผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในประเทศ
และส่งออก" ........กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง นั้น ปตท. ได้จัดทำเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายในองค์กร ปตท. จำนวน 16 หมวดรายการ เช่น การเช่าซื้อรถยนต์ / การก่อสร้าง รวมถึงการจัดซื้อสินค้า Stationary ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว โดยการประกาศเกณฑ์การจัดซื้อดังกล่าว เป็นนโยบายหลักในองค์กรที่ให้ทุกหน่วยงานใน ปตท. นำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งผลจากการคำนวณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2014 พบว่า ปตท. สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 18,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับ Co-benefit ด้านอื่นๆอีกมากมาย เช่น สามารถลดการใช้น้ำมันเบนซิน 7 ล้านลิตรต่อปี หรือ การลดการใช้ไฟฟ้าประมาณ 180 MWh/ปี ........นอกจากนี้ ปตท. จะมีในการเพิ่มเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวให้ครอบคลุมสินค้าและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของ ปตท. มากขึ้น เพื่อให้มีการนำไปประยุกต์ใช้เป็นเงื่อนไขทางการค้าให้บริษัทคู่ค้าที่ทำธุรกิจร่วมกับ ปตท. หรือที่เรียกว่า Green Supply Chain ตามแนวทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนของ ปตท. ซึ่งหากเราคาดการณ์ว่า ปตท. มีอัตราการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี จะทำให้ ปตท. สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมได้ประมาณ 24,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ในปี 2020 หรือเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าขนาด 5 MW ตลอดระยะเวลา 7 ปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าชายเลน (ต้นโกงกาง) เพื่อเก็บกักคาร์บอนจำนวน 54,100 ไร่ |
|
........
|
|
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันสิ่งแวดล้อม ไทย โทร 02 503 3333 ต่อ 524 คุณ วิศรา หุ่นธานี
|
|
........
|
|
........
|
|
|
|
หมายเหตุ. สงวนลิขสิทธ์ภาพและเนื้อหา นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
|
|
Use of this site signifies
your acceptance of the Privacy Policy and Terms of Use.
Copyright © 2005 Variety News Edition Corp. All rights reserved. |